วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

มะกอก สุดยอดแห่ง สมุนไพรไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Spondias cytherea  Sonn.
ชื่อสามัญ :  Jew’s plum, Otatheite apple
วงศ์ :  Anacardiaceae
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่อตามท้องถิ่น :  มะกอก (กลาง) กอกฤก กูก กอกหมอง (เหนือ)  กอกเขา (ใต้ทางนครศรีธรรมราช) กอก (ใต้) มะกอกดง ไพแซ  มะกอกฝรั่ง หมากกอก (อุดร-อีสาน-จังหวัดบ้านเกิดของผู้เขียน)
รูปร่างลักษณะของต้นมะกอก (ดูรูปประกอบ) : 
ลักษณะต้น สูง 7-12 เมตร เปลือกลำต้นมีสีเทาหรือน้ำตาลแดง
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว ใบย่อยรูปไข่ค่อนข้างเรียวแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย
ดอก ออกเป็นช่อแบบเพนิเคิล* ตามปลายยอด ดอกย่อยมีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ฐานรองดอกมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ
* อธิบายนิดนึงถึงเผื่อไปเจอในบทความอื่นจะได้เข้าใจคำว่าช่อแบบ เพนิเคิล เป็นช่อดอกที่มีช่อดอกแตกออกมาจากช่อดอกใหญ่อีกทีหนึ่ง
ผล รูปไข่หรือรูปกระสวย มียางคล้ายไรไข่ปลา ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม ผลแก่มีสีเขียวอมเหลือง สุกมีสีส้ม เมล็ด กลมรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง และมีขนแข็งที่เปลือกหุ้มเมล็ด ที่เรามักเห็นจุดดำๆในมะกอกเป็นจุดที่เกิดจากการเก็บไว้นาน แล้วทำปฏิกริยากับอากาศ
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้ :  ผล เปลือก ใบ ยาง เมล็ด
สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย :
เนื้อผลมะกอก - มีรสเปรี้ยวฝาด หวานชุ่มคอ บำบัดโรคธาตุพิการ*โดยน้ำดีไม่ปกติ และมี่ประโยชน์แก้โรคบิดได้ด้วย
ธาตุพิการ หรืออาหารไม่ย่อย (Indigestion หรือ Dyspepsia) คือ อาการไม่สุขสบายที่เกิดขึ้น อาจมีเพียงอาการเดียว หรือหลายๆอาการพร้อมกัน อาจเกิดในขณะกินอาหาร และ/หรือภายหลังกินอาหาร เช่น แน่นท้อง อึดอัด เรอ แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ บางครั้งอาเจียน
น้ำคั้นใบมะกอก - ใช้หยอดหู แก้ปวดหูได้ (ตรงนี้หากกรณีมีแมลเข้าหูและนำน้ำมันมะกอกนะครับ)
ผลมะกอกสุก - รสเปรี้ยว อมหวาน รับประทานทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้ดี  ลักษณะแบบตอนกินแล้วฝาดแต่พอกินน้ำตามแล้วหวานคอดีเช่น เดียวกันกับผลมะขามป้อม
เปลือก - ฝาด เย็นเปรี้ยว แก้ร้อนในอย่างแรง แก้ลงท้องปวดมวน แก้สะอึก
เมล็ดมะกอก - สุมไปให้เป็นถ่าน แช่น้ำ เอาน้ำรับประทานแก้ร้อนใน แก้หอบ แก้สะอึกดีมาก ใผ
ใบอ่อนหรือยอดอ่อน – รับประทานเป็นอาหารได้

ประโยชน์ทางอาหารของมะกอก
ส่วนที่เป็นผักคือยอดอ่อนและใบอ่อน ออกในฤดูฝน และออกเรื่อยๆ ตลอดทั้งปี ส่วนผลเริ่มออกในฤดูหนาว การปรุงอาหารคนไทยทุกภาคของเมืองไทยรู้จักและรับประทานยอดมะกอกเป็นผักสด
ในภาคกลางรับประทานยอดอ่อนใบอ่อน ร่วมกับน้ำพริกปราร้า เต้าเจี๊ยวหลน ชาวอิสานรับประทานร่วมกับ ลาบ ก้อย แจ่วป่นต่างๆ  โดยเฉพาะกินกับลาบนี่อร่อยเหาะ(ผู้เขียน)    สำหรับผลสุกของมะกอกนิยามฝานเป็นชิ้นเล็กๆใส่ในส้มตำหรือพล่ากุ้ง รสชาติจะอร่อยยิ่งๆขึ้น

คุณค่าทางอาหารของมะกอก
-        ยอดอ่อนของมะกอก  100 กรัม ให้พลังงาน 46 กิโลแคลอลี่ไม่มีบลาบลา
-        เส้นใย (fiber) 16.7 กรัม
-        แคลเซียม 49 มิลลิกรัม
-        ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม
-        เหล็ก 9.9 มิลลิกรัม
-        เบต้าแคโรทีน 2017 ไมโครกรัม
-        วิตามินเอ 337 ไมโครกรัมของเรตินอล
-        วิตามินบีหนึ่ง  0.96 มิลลิกรัม
-        วิตามินบีสอง  0.22 มิลลิกรัม
-        ไนอาซิน 1.9 มิลลิกรัม
-        วิตามินซี 53 มิลลิกรัม
น้ำมันมะกอกต้านมะเร็งผิวหนัง
ความนิยม น้ำมันมะกอกในบ้านเรามีมากขึ้น มีหลากหลายยี่ห้อวางขาย ใส่ผมบ้าง ทาผิวบ้างก็มี รวมไปถึงแบบที่ใช้ประกอบอาหาร ซึ่งแพงหน่อยนึง จริงๆการทานน้ำมันมะกอกชาวยุโรปฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนจะนิยมทานมานานแล้ว  แต่บ้านเราอาจไม่นิยมมากนัก เลยมีผู้ผลิตแบบใช้ประกอบอาหารไม่มาก ราคาจึงสูง   ซึ่งน้ำมันมะกอกนี้เองนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย โกเบ ของญี่ปุ่น ซึ่งไม่ใกล้กับโกฮับ ที่เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวของไทย (ตะลึ่งตึ่งโป๊ะ)  วิจัยมาแล้วว่ามีสรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังได้   โดยใช้นำมันมะกอกชนิดบริสุทธิ์ ทาหลังจากออกแดด โดยในน้ำมันมะกอกมี วิตามิน E และ C สูง ที่สามรถไปจัดการอนุมูลอิสระ ซึ่งเกิดเมื่อร่างกายได้รับรังสี UV จากแดดที่ทำลายเซลล์ผิวหนัง โดยน้ำมันมะกอกจะช่วยไปชะลอการเกิดเนื่องอก และลดความเสียหานที่เกิดกับเซลล์ได้
นำมันมะกอกกับการประกอบอาหาร
อย่างที่บอกว่าน้ำมันมะกอกมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก ประกอบกับมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว จึงเหมาะกับการทอดด้วยความร้อนสูง สมารถใช้ซ้ำได้โดยไม่เกิดปฏิกริยาเปลี่นแปลงใดๆ (ไม่เกิดปฏกริยาออกซิเดชั่น จนเกิดเป็นสารพิษตกค้าง เหมือนไขมันสัตว์ และไขมันจากเมล็ดพืช)
อีกอย่างเมื่อนำมาทอดน้ำมันมะกอกจะทำให้อาหารดูดซึมน้ำมันเพียงเล็กน้อย ทำให้รสชาติอาหารดี ประกอบกับความหอมของน้ำมันมะกอก   จากหนังสือ Herb & Healthy ได้สรุปประโยชน์ของน้ำมันมะกอกไว้เป็นประเด็นดังนี้
1.ช่วยในการหมุนเสียนของดลหิต ป้องกันภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ป้องกันความดันโลหิตสูงหัวใจล้มเหลว
2.ช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะตับอ่อน ลำไส้ ถุงน้ำดี ยังป้องกันการก่อตัวของนิ่วอีกด้วย
3.ช่วยในเรื่องผิวหนัง ให้มีความยืดหยุ่น และป้องกันมะเร็งดังที่ได้พูดไปแล้ว
4.น้ำมันมะกอกช่วยระบบการเผาผลาญอาหาร (metabolic function) ภายในร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นทางเลือกที่ดีในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน (พบว่าระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดลดลง 12 % เมื่อรับประทานน้ำมันมะกอก)
5.ดีต่อระบบกระดูก เพราะน้ำมันมะกอกช่วยร่างกายในการดูดซึมแคลเซียมได้ดี
6.ป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระ ดังที่ได้กล่าวไปในบทความเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ
7.ทำให้ร่างกายทนทานต่อสารกัมมันภาพรังสี ได้ดีขึ้น (แต่ไม่ใช่ทานแล้วไป จับกากนิวเคลียร์เลยนะ อันนี้แค่ทำให้ร่างกาย ไวต่อผลจากรังสีน้อยลง ยังต้องป้องกันที่ชุดอยู่ดี) โดยน้ำมันมะกอกเป็นอาหารที่ถูกบรรจุใน list อาหารของนักบินอวกาศ
8. อาหารเด็กอ่อน เนื่องจากน้ำมันมะกอกมีน้ำมันตามธรรมชาติใกล้เคียงกับน้ำนมมารดา (แต่น้ำนมมารดา ต้องสำคํญที่สุดนะครับ อันนี้ใช้ทำพวกอาหารไว้เสริมให้เด็กกิน)
9. ป้องกันการชราภาพและยังยั้งการเสื่อมถอบของสมอง
10.ป้องกันภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจ จากการวิจัยพบว่าน้ำมันมะกอกช่วยลดระดับ คอเรสโตรอลชนิดเลวหรือ LDL แต่ไม่ทำให้ลด คอเรสโตรอลชนิดดี HDL ได้
นี่แหละครับคือประโยชน์จากมะกอก

ขอความกรุณาทุกท่านที่นำบทความนี้ไป share ต่อหรือไปลงที่ web อื่นๆ
รบกวนใส่ลิ้งค์   http://ไทยสมุนไพร.net  เพื่อให้เครดิต ด้วยนะครับ
ข้อมูลอ้างอิง    สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด – สมเด็จพระเทพ (www.rspg.or.th)  ,หนังสือ herb & health  ,thai  wikipedia

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ข่า แก้ลมพิษ อาหารเป็นพิษ

ชื่อวิทยาศาสตร์ :      Alpinia galanga Swartz    

วงศ์ :                      ZINGIBERACEAE  

ชื่ออื่นๆ  :                  กฏุกกโรหิณี (Ka-tuk-ka-ro-hi-ni)

ถิ่นกำเนิด :     อินเดีย  พม่า  ไทย  มาเลเซีย  สิงคโปร์  บอร์เนียว

                   อินโดนีเซีย  ฟิลิปปินส์


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

รูปลักษณะ    ไม้ล้มลุก  ลำต้นเป็นก้านกลมแข็ง  ใบสีเขียวแข็งหนา  มีดอกจากกอขึ้นไปเป็นช่อใหญ่สี         ขาวประสีม่วงแดง  ลูกกลมขนาดลูกหว้า  ลงหัวเป็นปล้องๆ  แง่งยาว  มีสีขาวอวบ


สรรพคุณ :

เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
แก้อาหารเป็นพิษ
เป็นยาแก้ลมพิษ
เป็นยารักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ติดเขื้อแบคทีเรีย เชื้อรา
วิธีและปริมาณที่ใช้ :

รักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้ท้องเดิน (ที่เรียกโรคป่วง) แก้บิด อาเจียน ปวดท้อง
ใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1-1 ½ นิ้วฟุต (หรือประมาณ 2 องคุลี) ตำให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่ม ครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว วันละ 3 เวลา หลังอาหาร

รักษาลมพิษ
ใช้เหง้าข่าแก่ๆ ที่สด 1 แง่ง ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงพอให้แฉะๆ ใช้ทั้งเนื้อและน้ำ ทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น

รักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง
ใช้เหง้าข่าแก่ เท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรง ทาที่เป็นโรคผิวหนัง หลายๆ ครั้งจนกว่าจะหาย

สารเคมี
           1 - acetoxychavicol acetate น้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย monoterene  2 - terpineol, terpenen  4 - ol, cineole, camphor, linalool, eugenol

- ใช้เหง้าสดตำให้ละเอียด นำมาผสมกับเหล้าขาว นำมาทาบริเวณผิวหนัง เพื่อรักษาโรคกลาก เกลื้อน หรือ ลมพิษได้
- ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเดิน โดยนำเหง้าสดมาตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำปูนใส ทานครั้งละประมาณครึ่งแก้ว
- ช่วยลดอาการปวดฟัน โดยนำเหง้าสดมาตำ ผสมเกลือลงไปเล็กน้อย นำไปใส่ในรูฟันที่ปวด หรือ อาจจะอมไว้ที่เหงือกก็ได้
- สามารถนำสารสกัดจากข่า มาทำเป็นยารักษาโรคได้ เช่น แก้ปวดบวมข้อ หลอดลมอักเสบ ยาขับลม ยาธาตุ และยารักษาแผลสด
- ใช้เหง้าสดนำมาตำให้ละเอียด นำไปวางเพื่อไล่แมลง จากกลิ่นของน้ำมันหอมระเหย
- สามารถใช้ผลข่า รักษาอาการปวดท้องและช่วยย่อยอาหารได้
- ช่วยลดอาการไอ โดยนำข่ามาทุป ฝานบางๆ บีบมะนาวลงไปเล็กน้อย เติมน้ำตาล แล้วใช้อม เคี้ยว หรือกลืนเลยก็ได้
- ช่วยลดอาการบวมช้ำ โดยใช้หัวข่าแก่ ทุบแล้วทาบริเวณที่บวมช้ำ เช้า-เย็น

ขอบคุณ http://www.rspg.or.th , http://www.siamhealthandbeauty.com

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ผักกวางตุ้ง หรือ ผักกาดสายซิม (ภาคใต้)



ผักกวางตุ้ง หรือ ผักกาดสายซิม (ภาคใต้)

ชื่อท้องถิ่น:   ผักกวางตุ้ง หรือ ผักกาดสายซิม (ภาคใต้)
ชื่อสามัญ:     Chinese Cabbage-PAI TSAI
ชื่อวิทยาศาสตร์:   Brassica pekinensis
ชื่อวงศ์:     Cruciferae
ลักษณะวิสัย/ประเภท:    ไม้ล้มลุก
ลักษณะพืช:

ต้นกวางตุ้งมีจุดเด่นที่เป็นผักแต่มีดอกสีเหลืองสดสวย แถมดอกกวางตุ้งยังทานได้อีกด้วย เป็นผักที่มีวิตามินสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินเอ วิตามินซี นอกจากนั้นยังมีธาตุอาหารพวกแคลเซียม และฟอสฟอรัสสูง เบต้าแคโรทีน นิยมนำมาผัดกับเนื้อสัตว์ ผัดน้ำมันหอย หรือต้มเป็นแกงจืด รสชาติหวาน และกรอบ โดยเฉพาะเมนูบะหมี่หมูแดง หรือบะหมี่เกี๊ยว ที่ต้องมีสีเขียวสดรสชาติกรอบๆของผักกวางตุ้งแซมอยู่ทุกชาม โดยธรรมชาติลำต้นของผักกวางตุ้งจะเป็นเส้นใยเหนียว ๆ เคี้ยวยาก


สรรพคุณ
ป้องกันความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางของทารก ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง  ผักกวางตุ้ง เป็นผักที่มีกากใยมาก แต่มีไขมันน้อย ทำให้รับประทานมากแค่ไหนก็ไม่อ้วน เรียกว่าเป็นผักที่รับประทานได้อิ่ม แต่ไม่อ้วน ช่วยลดการเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็งโรคกล้ามเนื้อเสื่อม และโรคเลือดหัวใจตีบ

กวางตุ้ง มีสารบางชนิดหากสัมผัสความร้อนจะกลายเป็นสารตัวใหม่ ชื่อ โอไซยาเนต สารนี้เมื่อเข้าสู้ร่างกายจะทำให้ท้องเสีย ความดันเลือดต่ำร่างกายอ่อนเพลีย แต่สารนี้จะสลายไปกับไอน้ำ  เมื่อเราเปิดฝาทิ้งไว้ แต่กินสดๆก็ปลอดภัย กินกว้างตุ้งกินเท่าไรก็ไม่อ้วน ช่วยทำให้กล้ามเนื้อ กระชับกระฉับกระเฉง กวางตุ้งมีกากใยอาหารมาก ไขมันน้อย ขับถ่ายสะดวก กินกว้างตุ้งแล้ว ร่างกายได้ภูมิต้านทานดีนัก กินกวางตุ้ง วันละ 1 กำมือ ประมาณ 3 วัน กวางตุ้งจะไปทำให้สาร ฟรีนีโมนหลั่ง กินเป็นประจำจะทำให้กลิ่นตัวหอม


ข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม:  
สรรพคุณทางยา: มีวิตามินซี เบตาแคโรทีนช่วยในการบำรุงสายตาและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และเชื่อว่าผักกวางตุ้งมีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดข้อช่วยลดการเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็งโรคกล้ามเนื้อเสื่อม และโรคเลือดหัวใจตีบ นิยมนำมาปรุงเป็นแกงจืด ต้มจับฉ่ายหรือนำไปผัด ซึ่งไม่ควรตั้งไฟนานเพราะความร้อนทำลาย วิตามินในผัก โดยเฉพาะวิตามินซี แต่เบตาแคโรทีนนั้นทนร้อนมากกว่า หากให้โดนความร้อนแค่ 1-2 นาทีจะมีเบตาแคโรทีนสูงกว่าครึ่งพอที่ร่างกายนำไปใช้บำรุงสุขภาพดวงตาและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ผักกวางตุ้งสามารถรับประทานสดได้แต่จะมีกลิ่นเหม็นเขียว

:กวางตุ้งช่วยลด การเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็งโรค กล้ามเนื้อเสื่อม และโรคเลือดหัวใจตีบ

ขอบคุณ  http://www.bedo.or.th




วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ตะไคร้ (เชื่อว่าป้องกันมะเร็งลำใส้) สมุนไพรพื้นบ้าน ที่ไม่ควรมองข้าม


ตะไคร้ สมุนไพรพื้นบ้าน ที่ไม่ควรมองข้าม  (เชื่อกันว่าป้องกันมะเร็งลำใส้ได้)

ชื่อสามัญ : Lemon Grass, Lapine

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citrates (DC. Ex Nees) Stapf.

วงศ์ : GRAMINAE



ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก จะขึ้นเป็นกอใหญ่ สูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นรูปทรงกระบอก แข็ง เกลี้ยง และตามปล้องมักมีไขปกคลุมอยู่ เป็นพรรณไม้ที่มีอายุหลายปี

ใบ : ใบเดี่ยว แตกใบออกเป็นกอ รูปขอบขนาน ปลายใบแหลม และผิวใบจะสากมือทั้งสองด้าน เส้นกลางใบแข็ง ขอบใบจะมีขนขึ้นอยู่เล็กน้อย มีสีเขียวกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 2-3 ฟุต

ดอก : ออกเป็นช่อกระจาย ช่อดอกย่อยมีก้านออกเป็นคู่ ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ

การขยายพันธุ์ : เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยการแยกกอ หรือหัวออกมาปลูกเป็นต้นใหม่

ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น หัว ใบ ราก และต้น


สรรพคุณ :

ทั้งต้น
1. รสฉุน สุมขุม แก้หวัด ปวดศีรษะ ไอ
2. แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้ บำรุงไฟธาตุ
3. ทำให้เจริญอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย
4. แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย ฟกช้ำจากหกล้ม ขาบวมน้ำ
5. แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว ขับปัสสาวะ ประจำเดือนมาผิดปกติ
6. แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้โรคหืด

ราก
1. แก้เสียดแน่น แสบบริเวณหน้าอก ปวดกระเพาะอาหารและขับปัสสาวะ
2. บำรุงไฟธาตุ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการ
3. รักษาเกลื้อน แก้อาการขัดเบา

ใบสด - มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้

ต้น -  มีสรรพคุณเป็นยาขับลม แก้ผมแตกปลาย เป็นยาช่วยให้ลมเบ่งขณะคลอดลูก ใช้ดับกลิ่นคาว แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุให้เจริญ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วปัสสาวะพิการ แก้หนองใน

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ปวดท้อง
-ใช้ลำต้นแก่ๆ ทุบพอแหลก ประมาณ 1 กำมือ (ประมาณ 40- 60 กรัม ) ต้มเอาน้ำดื่ม หรือประกอบเป็นอาหาร
- นำตะไคร้ทั้งต้นรวมทั้งรากจำนวน 5 ต้น สับเป็นท่อน ต้มกับเกลือ ต้ม 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว รับประทาน 3 วัน จะหายปวดท้อง

แก้อาการขัดเบา ผู้ที่ปัสสาวะขัดไม่คล่อง (แต่ต้องไม่มีอาการบวม)
- ใช้ต้นแก่สด วันละ 1 กำมือ (ประมาณ 40- 60 กรัม , แห้งหนัก 20- 30 กรัม ) ต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
- ใช้เหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดิน ฝานเป็นแว่นบางๆ คั่วไปอ่อนๆ พอเหลือง ชงเป็นชาดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

คุณค่าทางด้านอาหาร :
          ตะไคร้ยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะช่วยเพิ่มเกลือแร่ที่จำเป็นหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และยังมีวิตามินเอ รวมอยู่ด้วย

สารเคมี :
          ใบ - มีน้ำมันหอมระเหย 0.4-0.8% ประกอบด้วย Citral 75-85 %  Citronellal, Geraniol Methylheptenone เล็กน้อย , Eugenol และ Methylheptenol
          ราก - มี อัลคาลอยด์ 0.3%


ขอบคุณ  http://www.rspg.or.th

วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ถั่วพู บำรุงสมอง ป้องกันมะเร็งลำใส้



ถั่วพู (Winged bean)

พืชตระกูลถั่ว(Leguminosae) ชื่อวิทยาศาสตร์ Psophocarpus tetragonolobus(Linn) DC. เป็นไม้เลื้อยประเภท climbing perennial ส่วนเหนือดินเป็นพืชล้มลุก แต่ส่วนใต้ดินจะอยู่ได้นานข้ามฤดูกาล ใบเป็นใบย่อย 3 ใบ มีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปคล้ายสามเหลี่ยม (deltoid) รูปไข่ (ovate) รูปใบหอก (lanceolate) ลำต้นมีสีเขียวและเขียวปนม่วง ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ลักษณะเป็นช่อ (inflorescence) ตั้งตรงแบบ raceme ช่อหนึ่ง ๆ ประกอบด้วย 3-12 ดอก แต่พบดอกที่บาน 2-4 ดอก และติดฝักเพียง1-2 ฝักเท่านั้น ฝักมีความยาวตั้งแต่ 11.2-29.9 เซนติเมตร รูปร่างฝักเป็นฝักสี่เหลี่ยมมีปีก 4 ปีก เมื่อตัดตามขวางแบ่งได้เป็น 4 แบบคือ rectangular, semi flat, flat on sides และ flat on suture สีฝักมีทั้งสี เขียว ม่วง และเหลือง ผิวฝักแบ่งได้เป็น2 แบบคือ ผิวเรียบและผิวหยาบมาก ในฝักหนึ่ง ๆ มีเมล็ดตั้งแต่ 8-20 เมล็ด เมล็ดมีสีตั้งแต่ขาว เหลือง ครีม น้ำตาล ดำและลวดลายต่าง ๆ เมล็ดมีขนาดต่าง ๆ กัน โดยมีน้ำหนัก 100 เมล็ดอยู่ในช่วง11-45.6 กรัม ส่วนใหญ่เมล็ดมีสีน้ำตาล รากของถั่วพู เป็นรากที่สะสมอาหารอยู่ใต้ดิน มีปมซึ่งเป็นที่อยู่ของเชื้อไรโซเบียมจำนวนมาก

การบริโภค ฝักอ่อน นิยมบริโภคเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก หรือนำไปปรุงอาหาร ผัด ลวก แกง ยำถั่วพู
คุณค่าทางอาหาร ในส่วนที่บริโภคได้ 100 กรัม ประกอบด้วยแคลเซียม 33 มิลลิกรัม เหล็ก 3.7 มิลลิกรัม วิตามินเอ 567 หน่วยสากล วิตามินซี 21 มิลลิกรัม
ปริมาณโปรตีน ใบ 5.7 เปอร์เซ็นต์ ดอก 5.6 เปอร์เซ็นต์ ฝัก1.9-3.0 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดแก่ 29.8-37.4 เปอร์เซ็นต์ และหัว 10.9 เปอร์เซ็นต์
เมล็ดแก่ มีคุณค่าทางอาหารใกล้เคียงกับถั่วเหลือง ช่วยเสริมวิตามินเอให้กับร่างกาย นอกจากนี้ในเมล็ดแก่ยังมีน้ำมัน 15.0-18.3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักสด ซึ่งประกอบด้วย unsaturated fatty acid, alpha และ beta tocopherol ในปริมาณสูง

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของถั่วพู


- หัวใช้บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไข้กาฬ
- ราก แก้โรคลมพิษกำเริบ ดีฟุ่ง ทำให้คลั่งเพ้อ ปวดท้อง ถั่วพูใช้รักษาสิวและโรคผิวหนังบางชนิด
- ตำรายาโบราณว่า ให้นำเมล็ดถั่วพลูมาต้มโดยคัดเอาเฉพาะเมล็ดแก่สีน้ำตาลเข้มจะรับประทานเมล็ดที่ต้มสุกเลยก็ได้ หรือนำเมล็ดที่ต้มสุกมาบดให้ละเอียดผสมน้ำสุกดื่มก่อนอาหาร 3 เวลา จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรงเพิ่มกำลังวังชา



ประโยชน์ของถั่วพู

การกินถั่วพูก็ยังมีกากใยอาหารมากทำให้ระบบขับถ่ายของเราเป็นไปอย่างปกติ ท้องไม่ผูก นอกจากนั้นแล้วหัวของถั่วพูก็สามารถนำไปตากแห้งแล้วคั่วไฟให้เหลืองนำมาชงเป็นน้ำดื่มชูกำลังสำหรับคนป่วยหรืออ่อนเพลียง่ายได้อีกด้วย


คุณค่าทางอาหารของถั่วพู

ถั่วพู 100 กรัม ให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย น้ำ 93.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.4 กรัม โปรตีน 2.1 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม เส้นใย 1.2 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 43 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.8 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.35 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.14 มิลลิกรัม วิตามินซี 32 มิลลิกรัม

ในส่วนตัวเชื่อว่า ถัวพู สามารถช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้  และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำใส้ได้อีกด้วย  

ขอขอบคุณข้อมูลจาก the-than และ http://www.rdi.kps.ku.ac.th

วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

เม็ดบัว หนึ่งในสุดยอดธัญพืช

เม็ดบัว หนึ่งในสุดยอดธัญพืช เพื่อน ๆชักสงสัยแล้วละซิว่าเม็ดบัวมีดีอย่างไร มีประโยชน์อะไรบ้าง  ถ้า อยากรู้เราไปดูกันเลยดีกว่า
          เม็ดบัว ภาษาจีนเรียกว่า เก่าซิก ,หน่อยซิก  หรือ  หน่อยผ่องจื้อเป็นธัญพืชที่ให้คุณค่าทางอาหารสูง ทานได้ทั้งสดและแห้ง มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบมากกว่าข้าว 3 เท่าเลยทีเดียว  นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวมของวิตามินอีกหลายชนิด เช่น วิตามินเอ ,วิตามินซี, วิตามินอี , เกลือแร่  และฟอสฟอรัส  วิตามินเหล่านี้มีส่วนช่วยในการบำรุงประสาท  บำรุงไต  บำรุงสมอง




นอกจากนี้เม็ดบัวยังมีสรรพคุณทางยาในการรักษา อาการท้องร่วง ,บิดเรื้อรัง ,สตรีประจำเดือนมามาก , น้ำอสุจิเคลื่อน(น้ำกามออกไม่รู้ตัว) ส่วนดีบัว(ต้นอ่อนที่อยู่ในเม็ดบัวมีรสขม) ยังช่วยลดความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ , ช่วยขยายหลอดเลือด ,แก้กระหาย, อาเจียนเป็นเลือด เป็นต้น 
จากคุณสมบัติที่ดีเลิศของ เม็ดบัว คนสมัยก่อนจึงนิยมนำ เม็ดบัว มาทำอาหาร ทั้งคาวและหวาน  เช่น  ข้าวผัดเม็ดบัว , สังขยาเม็ดบัว , เม็ดบัวเชื่อม ,ขนมหม้อแกงเม็ดบัว , ใส่ในเต้าฮวย เป็นต้น ถ้านำเม็ดบัวมาปรุงอาหารร่วมกับลำไยแห้งจะทำให้สรรพคุณทางยาของเม็ดบัวเพิ่มมากขึ้น

- นึ่งเม็ดบัวจนสุก นำไปตากแห้ง แล้วนำมาบดเป็นผง ทานครั้งละ 15 กรัม วันละ 3 ครั้ง เพื่อรักษาอาการท้องเสียเรื้อรัง
- ดื่มน้ำชาที่ต้มจากดีบัวและเก๊กฮวย ช่วยบำรุงสายตา บำรุงสุขภาพ และลดความดันโลหิต
- นำเม็ดบัว ลำไยแห้ง น้ำตาลกรวด และกุ้ยฮวย ตุ๋นรวมกันด้วยไฟอ่อนๆ ทานบำรุงร่างกาย หัวใจ เลือด และม้าม
- เนื้อเป็ดนึ่งกับเนื้อขาหน้าหมู ดอกบัวสด ลิ้นจี่ แฮมสุก ทานเป็นอาหารบำรุงร่างกาย ช่วยให้เจริญอาหาร

ข้อควรระวัง
ผู้ที่มีอาการท้องผูก ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ไม่ควรทาน
ไม่ควรปรุงอาหารที่มีเม็ดบัวในภาชนะที่ทำจากเหล็ก เพราะจะทำให้เม็ดบัวกลายเป็นสีดำ

ของดีๆ รู้แล้ว เพื่อน ๆ ก็ลองหันมาทานเม็ดบัวกันเถอะ  เพื่อจะได้มีสุขภาพที่ดีห่างไกลจากโรคภัย 
ว่าแล้วแถม เมนูขนมหวานเรียกน้ำย่อยกันหน่อย

วิธีทำขนมเม็ดบัวเปียกมะพร้าวอ่อน

ให้แช่เม็ดบัวไว้ในน้ำสะอาดข้ามคืน จากนั้นคัดเม็ดบัวที่เสียออก เลือกเฉพาะเม็ดบัว ที่ดีแล้วนำไปล้างพักให้สะเด็ดน้ำ  ถ้าไม่ชอบขม ให้ผ่ากลางดึงดีบัวออก
- ต้มน้ำลอยดอกมะลิสด แล้วใส่เม็ดบัวลงไป เมื่อเม็ดบัวสุกได้ที่แล้ว  ให้ละลายแป้งมันลงไปคนให้ข้น แล้วใส่น้ำตาลทรายลงไป ตามด้วยเนื้อมะพร้าวอ่อน สุกแล้วปิดไฟ พักไว้
- มาทำกะทิราดขนมกันก่อน นำกะทิมาต้มจนสุกแล้วใส่เกลือป่นลงไป ปิดไฟ
- ตักเม็ดบัวใส่ชามนำกะทิมาราดขนมเม็ดบัวเปียกมะพร้าวอ่อน

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดอกแค ยังช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้อาการท้องร่วง





ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Sesbania grandiflora  (L.) Desv.

ชื่อสามัญ :   Agasta, Sesban, Vegetable humming bird

วงศ์ :   Leguminosae - Papilionoideae

ชื่ออื่น :  แค แคบ้านดอกแดง แคขาว (ภาคกลาง) แคแดง (เชียงใหม่)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม.  ยาว 3-4 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ  สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ 2-4 ดอก ดอกสีขาวหรือแดง มีกลิ่นหอม ก้านเกสรเพศผู้สีขาว 60 อัน ผล เป็นฝัก ยาว 8-15 ซม. ฝักแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดกลมแป้น สีน้ำตาล มีหลายเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น  ดอก  ใบสด  ยอดอ่อน

ประโยชน์ตำรายาไทย
ดอกแค สามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายอย่าง ใส่แกงส้ม ต้มจิ้มน้ำพริก ดอกแคและยอดอ่อน ยังช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน เปลือกลำต้นเมื่อนำมาต้นน้ำให้เดือด 30 นาที ใช้น้ำต้มชะล้าง
ข้อแนะนำ
สำหรับดอกแค ก่อนนำไปปรุงอาหารควรแกะไส้ในออกก่อน มิฉะนั้นจะมีรสขม รับประทานไม่อร่อย


สรรพคุณ :

เปลือก
- ต้มหรือฝนรับประทาน แก้โรคบิดมีตัว
- แก้มูกเลือด แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
- ภายนอก ใช้ชะล้างบาดแผล

ดอก,ใบ - รับประทานแก้ไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู (แก้ไข้หัวลม)
ชาวอินเดีย ใช้สูดน้ำที่คั้นได้จากดอกหรือใบแคเข้าจมูกรักษาโรค ริดสีดวงในจมูก และทำให้มีน้ำมูกออกมา แก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้

ใบสด
- รับประทานใบแคทำให้ระบาย
- ใบแค ตำละเอียด พอกแก้ช้ำชอก

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

แก้มูกเลือด บิดมีตัว แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
ใช้เปลือกต้นปิ้งไฟ 1 ส่วน ต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใส 10 ส่วน รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง

แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้หัวลม (หรือไข้อากาศเปลี่ยน)
- ใบสด ต้มกับน้ำรับประทานลดไข้ ใช้ยอดอ่อนจำนวนไม่จำกัด ลวกจิ้มกับน้ำพริก รับประทานแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
- ใช้ดอกที่โตเต็มที่ล้างน้ำ ต้มกับหมูทำบะช่อ 1 ชาม รับประทาน 1 มื้อ รับประทานติดต่อกัน 3-7 วัน จะได้ผล