วงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่นๆ : กฏุกกโรหิณี (Ka-tuk-ka-ro-hi-ni)
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย พม่า ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ บอร์เนียว
อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
รูปลักษณะ ไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นก้านกลมแข็ง ใบสีเขียวแข็งหนา มีดอกจากกอขึ้นไปเป็นช่อใหญ่สี ขาวประสีม่วงแดง ลูกกลมขนาดลูกหว้า ลงหัวเป็นปล้องๆ แง่งยาว มีสีขาวอวบ
สรรพคุณ :
เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
แก้อาหารเป็นพิษ
เป็นยาแก้ลมพิษ
เป็นยารักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ติดเขื้อแบคทีเรีย เชื้อรา
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
รักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้ท้องเดิน (ที่เรียกโรคป่วง) แก้บิด อาเจียน ปวดท้อง
ใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1-1 ½ นิ้วฟุต (หรือประมาณ 2 องคุลี) ตำให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่ม ครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว วันละ 3 เวลา หลังอาหาร
รักษาลมพิษ
ใช้เหง้าข่าแก่ๆ ที่สด 1 แง่ง ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงพอให้แฉะๆ ใช้ทั้งเนื้อและน้ำ ทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น
รักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง
ใช้เหง้าข่าแก่ เท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรง ทาที่เป็นโรคผิวหนัง หลายๆ ครั้งจนกว่าจะหาย
สารเคมี
1 - acetoxychavicol acetate น้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย monoterene 2 - terpineol, terpenen 4 - ol, cineole, camphor, linalool, eugenol
- ใช้เหง้าสดตำให้ละเอียด นำมาผสมกับเหล้าขาว นำมาทาบริเวณผิวหนัง เพื่อรักษาโรคกลาก เกลื้อน หรือ ลมพิษได้
- ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเดิน โดยนำเหง้าสดมาตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำปูนใส ทานครั้งละประมาณครึ่งแก้ว
- ช่วยลดอาการปวดฟัน โดยนำเหง้าสดมาตำ ผสมเกลือลงไปเล็กน้อย นำไปใส่ในรูฟันที่ปวด หรือ อาจจะอมไว้ที่เหงือกก็ได้
- สามารถนำสารสกัดจากข่า มาทำเป็นยารักษาโรคได้ เช่น แก้ปวดบวมข้อ หลอดลมอักเสบ ยาขับลม ยาธาตุ และยารักษาแผลสด
- ใช้เหง้าสดนำมาตำให้ละเอียด นำไปวางเพื่อไล่แมลง จากกลิ่นของน้ำมันหอมระเหย
- สามารถใช้ผลข่า รักษาอาการปวดท้องและช่วยย่อยอาหารได้
- ช่วยลดอาการไอ โดยนำข่ามาทุป ฝานบางๆ บีบมะนาวลงไปเล็กน้อย เติมน้ำตาล แล้วใช้อม เคี้ยว หรือกลืนเลยก็ได้
- ช่วยลดอาการบวมช้ำ โดยใช้หัวข่าแก่ ทุบแล้วทาบริเวณที่บวมช้ำ เช้า-เย็น
ขอบคุณ http://www.rspg.or.th , http://www.siamhealthandbeauty.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น