วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ต้นสาบเสือ ห้ามเลือดได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ แก้บวม ดูดหนอง

ต้นสาบเสือ สมุนไพรไทยอีกชนิดที่มากไปด้วยสรรพคุณ
ต้นสาบเสือ เป็นยาแก้ ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ แก้บวม ดูดหนอง ช่วยในการแก้ร้อนใน กระหายน้ำ เป็นยาชูกำลัง แก้อ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ แก้ไข้



ชื่ออื่น หญ้าเสือหมอบ ( สุพรรณ - ราชบุรี - กาญจน์ ), รำเคย ( ระนอง ), ผักคราด, บ้านร้าง(ราชบุรี) , ยี่สุ่นเถื่อน (สุราษฎร์), ฝรั่งเหาะ, ฝรั่งรุกที่ (สุพรรณ) , หญ้าดอกขาว ( สุโขทัย - ระนอง ) , หญ้าเมืองวาย ( พายัพ ), พาทั้ง (เงี้ยว เชียงใหม่) , หญ้าดงรั้ง , หญ้าพระสิริไอสวรรค์ ( สระบุรี ), มุ้งกระต่าย (อุดร ) ,หญ้าลืมเมือง ( หนองคาย ),หญ้าเลาฮ้าง ( ขอนแก่น ) , สะพัง ( เลย ), หมาหลง ( ศรีราชา - ชลฯ) , นองเส้งเปรง ( กะเหรี่ยง เชียงใหม่) , ไช้ปู่กุย ( กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน ) , หญ้าเมืองฮ้าง ,หญ้าเหมือน
( อิสาน) , หญ้าฝรั่งเศส , เบญจมาศ ( ตราด ) , เซโพกวย ( กะเหรี่ยง เชียงใหม่ ) , มนทน ( เพชรบูรณ์ ) ; ปวยกีเช่า , เฮียงเจกลั้ง ( จีน )
ชื่อวิทยาศาสตร์ Eupatorium odoratum L. วงศ์ Compositae
ลักษณะต้น เป็นพืชปีเดียวตาย ต้นสูง 1 - 3 เมตร ก้านมีริ้วรอย ปกคลุมด้วยขน ก้านและใบเอามาขยี้จะมีกลิ่นแรง ใบออกตรงข้ามกัน ลักษณะค่อนมาทางรูปสามเหลี่ยม ตัวใบยาว 3 - 10 ซม. ปลายใบแหลม ฐานใบกว้างใหญ่ หรือ กลมๆ ขอบใบมีรอยหยักคล้ายฟันขนาดใหญ่ มีขนปกคลุมทั้ง 2 ด้าน ด้านท้องใบมีขนหนาแน่นกว่าหลังใบ ดอกออกเป็นช่อลักษณะเป็นกระจุกคล้ายร่ม ดอกสีขาวออกม่วง มีดอกย่อยวงนอกเป็นเส้นสีขาวออกมา 1 วง ส่วนกลางของช่อดอกเป็นดอกย่อยที่มีทั้งเกสนตัวผู้และเกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน กลีบดอกมีลักษณะเป็นหลอด ส่วยปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ผลมีขนาดเล็ก มีห้าเหลี่ยม ส่วนปลายมีขนช่วยพยุงให้ลอยไปตกได้ไกลๆออกดอกในฤดูหนาว มักพบตามที่รกร้างทั่วไป ชอบขึ้นตามที่มีแสงแดดมากๆตามทุ่งกว้าง ริมถนน
การเก็บมาใช้
ก้านและใบ ใช้สด
สรรพคุณ
ก้านและใบ รสสุขุม ฉุนเล็กน้อย ใช้ฆ่าแมลง ห้ามเลือดแก้แผลที่แมลงบางชนิดกัดแล้วเลือดไหลไม่หยุด ใช้ใบสดตำพอกปากแผล หรือ อาจใช้ใบสดตำกับปูนกินหมากพอกแผลห้ามเลือดได้หรือใช้ใบสดขยี้ปิดปากแผลเลือดออกเล็กน้อยได้ดี
ผลทางเภสัชวิทยา
น้ำต้มสกัดจากใบและต้น มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้เล็กที่แยกออกจากตัวของหนูตะเภา แต่ลดการบีบตัวของลำไส้เล็กที่แยกออกจากตัวของกระต่าย น้ำต้มสกัดและผลึกสารที่สกัดได้จากต้นนี้ ไม่มีผลอย่างเด่นชัดต่อมดลูกที่แยกออกจากตัวของกระต่าย หากนำไปฉีดเข้าช่องท้องของหนูเล็ก พบมีความเป็นพิษเพียงเล็กน้อย
สารเคมีที่พบ
ทั้งต้น มีน้ำมันระเหย ซึ่งประกอบด้วย Eupatol(22) , Coumarin ,d และ I - Eupatene(1), Lupeol , b - Amyrin และ Flavone Salvigenin (22) 
ใบ มี Ceryl alcohol ; a-,b-,g- Sitosterol (23) , Anisic acid , Trihydric alcohol (C25 H34O5,m.p.278-280ฐC) , Tannin , น้ำตาล (24) ,Isosakuranetin , Odoratin , (2/ - hydroxy - 4 , 4/ , 5/ ,6/ - tetramethoxychalcone) , Acacetin (25)

ต้น เป็นยาแก้ ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ แก้บวม ดูดหนอง
 
ใบ ใบของสาบเสือมีสารสำคัญคือ กระอะนิสิก และฟลาโวนอยด์หลายชนิด เช่น ไอโซซาxxxรานิติน และโอโดราติน นอกจากนี้ยังมีสารพวกน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบไปด้วยสารยูพาทอล คูมาริน โดยสารสำคัญเหล่านี้จะไปออกฤทธิ์ที่ผนังเส้นเลือดทำให้เส้นเลือดหดตัว และนอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ไปกระตุ้นสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวได้เร็วขึ้น ทำให้สามารถห้ามเลือดได้[6]ใช้เป็นยารักษาแผลสด สมานแผล ถอนพิษแก้อักเสบ แก้พิษน้ำเหลือง แก้ตาฟาง แก้ตาแฉะ แก้ริดสีดวงทวารหนัก รักษาแผลเปื่อย 
ดอก เป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ชูกำลัง แก้อ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ แก้ไข้ 
ทั้งต้น เป็นยาแก้บาดทะยัก(ลอกเขามา)http://www.rakbankerd.com/agriculture/wb/show.php?Category=agriculture&No=14384


สรพพคุณทั้งหมดที่ว่ามาดีที่สุดและเคยใช้มาแล้วคือ  ใบสาบเสือห้ามเลือดได้ดีที่สุดคือ เคยถูกมีดบาด เป็นแผลใหญ่พอควร  ก็เด็ดใบสาบเสือมาขยี้ในมือแล้วเอาแปะไปตรงแผล สักครู่เลือดก้หยุดไหล แต่แสบมากๆ  ข้อดีคือ หลังจากแผลหายแล้ว ไม่มีแผลเป็น   สรรพคุณอีกข้อหนึ่งก็คือ  ทั้งต้นและใบสาบเสือสามรถขจัดน้ำเน่าได้  เอาทั้งใบและต้นใส่ลงไปแช่ในบ่อน้ำเน่า   ผ่านไป2-
3 สัปดาห์  น้ำจะเริ่มใสขึ้นเรื่อยๆๆๆ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น