วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มะระขี้นก รักษา เบาหวาน กระตุ้นการย่อยอาหาร

มะระขี้นกเป็นผักพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย



ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantin Linn

วงศ์ Cucurbitaceae

 ชื่ออังกฤษ Balsam apple, Balsam pear, Bitter cucumber, Bitter gourd, Bitter melon, Carilla fruit

ชื่ออื่นๆ ผัก ไห่ มะไห่ มะนอย มะห่วย ผักไซ (เหนือ) สุพะซู สุพะเด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มะร้อยรู มะระหนู (กลาง) ผักเหย (สงขลา) ผักไห (นครศรีธรรมราช) ระ (ใต้) ผักสะไล ผักไส่ ผักไซร้ (อีสาน) โกควยเกี๋ยะ โควกวย (จีน) มะระเล็ก มะระขี้นก (ทั่วไป) ชาวปานามาเรียก บัลซามิโน่ 
มะระขี้นกมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของเอเชียและทางตอนเหนือของแอฟริกาเขตร้อน

สรรพคุณทาง ยา : มะระขี้นกในภูมิปัญญาไทยและชนชาติอื่น
น้ำต้มรากมะระขี้นกใช้ดื่มเป็นยาลดไข้ บำรุงธาตุ เป็นยาฝาดสมาน แก้ริดสีดวงทวาร แก้บาดแผลอักเสบ
ใบช่วยเจริญอาหาร ช่วยระบาย

น้ำคั้นใบ
ดื่มเป็นยาทำให้อาเจียน บรรเทาอาการท่อน้ำดีอักเสบ

ดอกชงกินกับน้ำแก้อาการหืดหอบ

ผลกิน เป็นยาขม ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย ขับพยาธิ แก้ตับและม้ามอักเสบ หรือจะคั้นน้ำมะระดื่มสัปดาห์ละไม่เกิน 1 แก้ว เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด และเป็นยาระบาย

ส่วนเมล็ดใช้เป็นยาขับพยาธิตัวกลม

มะระมีฤทธิ์เย็น จึงมีคำแนะนำว่าไม่ควรกินติดกันเกินไป เว้นระยะกินอาหารผักอย่างอื่นบ้างให้ร่างกายเกิดสมดุล แล้วจึงกลับมากินมะระได้อีก

ชาวโอกินาวาในประเทศญี่ปุ่นกินมะระขี้นกมาก เชื่อกันว่ามะระขี้นกมีส่วนช่วยให้ชาวโอกินาวามีอายุเฉลี่ยยืนยาวกว่าชาวญี่ปุ่นทั่วไป

แพทย์ พื้นบ้านในทวีปเอเชียใช้มะระในตำรับยารักษาโรคมานาน ชาวเอเชีย ปานามา และโคลัมเบียใช้ชาใบมะระป้องกันและรักษาโรคมาลาเรีย ฤทธิ์ดังกล่าวได้มีการตรวจสอบแล้วในห้องปฏิบัติการ

มะระมีความขมจึงมีฤทธิ์กระตุ้นการย่อยอาหาร ช่วยบุคคลที่ระบบย่อยอาหารไม่ค่อยทำงาน อาหารไม่ย่อย หรือท้องผูก แต่ก็อาจก่อให้เกิดอาการกรดไหลย้อนหรือแผลในกระเพาะอาหารได้ด้วย

น้ำมัน จากมะระขี้นกมีกรดเอลีโอสเตียริก การศึกษาพบว่ากรดดังกล่าวมีฤทธิ์ป้องกันไม่ให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ มีนัยยับยั้งการขยายขนาดของก้อนมะเร็งที่จำเป็นต้องมีหลอดเลือดไปหล่อเลี้ยง

ผล จากห้องปฏิบัติการพบว่าโปรตีนและไกลโคโปรตีนเล็กทินจากมะระขี้นกมีประโยชน์ ในการรักษาผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง แต่สารเหล่านี้ดูดซึมผ่านระบบทางเดินอาหารได้น้อยมาก การกินเป็นอาหารจึงไม่สามารถลดปริมาณเชื้อไวรัสในผู้ป่วยได้ คาดว่าได้ประโยชน์ในการสร้างภูมิคุ้มกันมากกว่า โดยทั่วไปมักใช้ผลอ่อนคั้นน้ำดื่มหรือตากแห้งบดเป็นผงใส่แคปซูลกิน การใช้น้ำคั้นจากผลดื่มได้ผลดีพอสมควร แต่การสวนทวารด้วยน้ำคั้นมะระจะได้ผลดีกว่าการดื่ม เพราะสารสำคัญ MAB-30 เป็นสารโปรตีนที่จะถูกทำลายโดยกรดและน้ำย่อยอาหารในกระเพาะอาหารได้ โปรตีนดังกล่าวมีหลักฐานอ้างอิงว่ามีฤทธิ์ต้านมะเร็ง

ชาวปานามาใช้ ชาชงใบมะระกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชาวไทยใช้เนื้อมะระขี้นกลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน โดยหั่นเนื้อมะระตากแห้งชงน้ำดื่ม ถ้าต้องการกลบรสขมให้เติมใบชาลงไปด้วยขณะที่ชง ดื่มต่างน้ำชา

เนื่อง จากซีกโลกตะวันตกจัดมะระขี้นกเป็นมะระจีนพันธุ์หนึ่ง ฤทธิ์ของมะระขี้นกถูกรวบรวมไว้ในฤทธิ์ของมะระแต่ไม่สามารถแยกออกมาได้ บทความนี้จึงไม่สามารถอ้างอิงบทความทางการแพทย์จากแหล่งตะวันตกได้


 งานวิจัย
มะระขี้นก (Momordica charantia L.) เป็นสมุนไพรที่ใช้กันมานานนับพันปี ในเอเซีย อาฟริกา และละตินอเมริกา อายุรเวทใช้ผลมะระรักษาเบาหวาน โรคตับ บรรเทาอาการโรคเก๊าต์และข้ออักเสบ ตำรายาไทยใช้ใบมะระในตำรับยาเขียวลดไข้ รากในตำรับยาแก้โลหิตเป็นพิษ และโรคตับ
          งานวิจัยสมุนไพรมะระได้ดำเนินอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ ค.ศ. 1962 ซึ่ง Lotlika และ Rao ได้ค้นพบชาแรนตินในผลมะระ ที่แสดงฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลอง ในปี 1965 Sucrow ได้พิสูจน์โครงสร้างเคมีของชาแรนติน พบว่าเป็นสารผสมของ sitosteryl- และ 5,25-stigmastadien-3-beta-ol-D-glucosides ในอัตราส่วน 1:1 ปี 1977 Baldwa และคณะ ได้แยกสารคล้ายอินซูลินจากผลมะระและมีฤทธิ์ลดน้ำตาล ในปี 1981 Khana และคณะได้พิสูจน์โครงสร้างของสารคล้ายอินซูลิน พบว่าเป็นโพลีเปปไทด์ที่มีน้ำหนักโมเลกุล 11,000 ดาลตัน และมีกรดอะมิโน 166 residues เรียกสารนี้ว่า โพลีเปปไทด์ พี สารขมกลุ่มคิวเคอร์บิตาซินซึ่งเป็น chemotaxonomic character ของพืชวงศ์ Cucurbitaceae คิวเคอร์บิตาซินในมะระ คือ momordicosides, momordicins, karaviloside K1 และ charantoside มีรายงานว่าสารขมดังกล่าวมีฤทธิ์ลดน้ำตาล
          ในมะระขี้นกมีสารหลายชนิดที่ต้านเบาหวาน และมีหลายกลไกที่ออกฤทธิ์ต้านเบาหวาน ได้แก่ เสริมการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ เสริมการเผาผลาญน้ำตาล เพิ่มความไวต่ออินซูลิน เพิ่มความทนต่อกลูโคส (glucose tolerance) นอกจากนี้ยังยับยั้งการหลั่งกลูโคสในลำไส้เล็ก และยับยั้งเอนไซม์กลูโคไซเดส
          น้ำคั้นจากผลมะระขี้นกแสดงฤทธิ์ต้านเบาหวานในกระต่ายและหนูขาว นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ามะระสามารถชะลอความผิดปกติของไต การเกิดต้อกระจก การเสื่อมของเส้นประสาทซึ่งเป็นผลมาจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็น เวลานาน หรือไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลเลือดให้ปกติ
          การศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (8 คน) พบว่าผู้ป่วยทนต่อกลูโคสได้ดีขึ้น ลดระดับน้ำตาลขณะอิ่ม และลดความถี่ของการถ่ายปัสสาวะ จึงขอแนะนำผู้ป่วยเบาหวานบริโภคมะระขี้นกเป็นอาหาร หรือในรูปน้ำคั้นเป็นอาหารเสริม เพื่อช่วยรักษาระดับความดันเลือดให้ปกติ และชะลออาการต่างๆที่เป็นผลเสียจากโรคเบาหวานที่เป็นมานาน
          มะระขี้นก (สีเขียว) มีคุณค่าทางอาหารเพราะมีวิตามินเอ (2,924 IU) ไนอะซิน (190 มก./100 ก) และมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ
          การเตรียมน้ำคั้นจากผลมะระขี้นก ขนาดที่ใช้ต่อวัน ผลสด 100 ก. นำมาผ่าครึ่ง ใช้ช้อนกาแฟขูดไส้ในและเมล็ดออก หั่นเนื้อผลเป็นชิ้นเล็กขนาดกว้าง 1 ซม. ใส่ในเครื่องปั่นแยกกาก จะได้น้ำมะระประมาณ 40 มล. ดื่มหลังอาหารเช้าหรือเย็น



มะระที่สุกแล้วจะมีสารซาโปนิน (Saponin) ในปริมาณมาก อาจทำให้มีอาการอาเจียนและท้องร่วงได้ อาจทำให้ถึงแก่ชีวิต
ผู้ที่ห้ามรับประทานมะระขี้นก ได้แก่ผู้ที่ม้ามเย็นพร่อง กระเพาะเย็นพร่อง หากรรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้มีอาการอาเจียน ถ่ายท้อง ปวดท้องได้ และควรรับประทานในปริมาณที่พอดี อย่าทำอะไรเกินเลย เช่นการดื่มน้ำมะระขี้นกก็อย่าขมจัด เพราะจะทำให้ตับทำงานหนัก และสำหรับหญิงตั้งครรภ์อาจจะทำให้ตกเลือดหรือแท้งได้หากรับประทานเกินขนาดหรือกินมะระขี้นกที่เริ่มสุกแล้ว

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะระขี้นกต่อ 100 กรัม

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

สรรพคุณมะระขี้นก

  1. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระมะระ จึงมีส่วนช่วยในชะลอความแก่ชราได้
  2. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย (ผล)
  3. ช่วยต่อต้านและป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง (ผล)
  4. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในตับอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีส่วนช่วยในการลดความอ้วน
  5. ช่วยป้องกันการตับและหนาตัวของผนังหลอดเลือดแดง
  6. ช่วยยับยั้งเชื้อเอดส์ หรือ HIV (ผล)
  7. ช่วยรักษาโรคหอบหืด
  8. ช่วยบำบัดและรักษาโรคเบาหวาน สามารถลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้เป็นอย่างดี โดยจะออกฤทธิ์ทันทีหลังรับประทานประมาณ 60 นาที (ผล)
  9. ประโยชน์ของมะระ ช่วยลดความดันโลหิต (ผล)
  10. ช่วยให้เจริญอาหาร เพราะมีสารที่มีรสขมช่วยกระตุ้นน้ำย่อยออกมามากยิ่งขึ้น ทำให้รับประทานอาหารได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น (ผล,ราก,ใบ)
  11. ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ เพิ่มพูนลมปราณ ด้วยการใช้เมล็ดแห้งของมะระขี้นกประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่ม (ผล,เมล็ด,ใบ)
  12. แก้ธาตุไม่ปกติ (ผล,ใบ)
  13. ใช้เป็นยาช่วยในการฟอกเลือด (ใบ)
  14. ช่วยในการนอนหลับ (ใบ)
  15. ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ช่วยในการถนอมสายตา ช่วยทำให้ดวงตาสว่างสดใสขึ้น แก้ตามบวมแดง (ผล)
  16. ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ (ใบ)
  17. ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย (ผล,ใบ)
  18. สรรพคุณมะระขี้นก ช่วยแก้ไข้ที่เกิดจากการถูกความร้อน ด้วยการใช้ผลสดของมะระขี้นก คว้านไส้ออก ใส่ใบชาแล้วประกบกันน้ำแล้วนำไปตากในที่ร่มให้แห้ง รับประทานครั้งละ 6-10 กรัม โดยจะต้มน้ำดื่มหรือชงดื่มเป็นชาก็ได้ (ผล,ราก,ใบ)
  19. ช่วยแก้อาการไอเรื้อรัง (ใบ)
  20. ช่วยลดเสมหะ (ราก)
  21. แก้อาการปากเปื่อยลอกเป็นขุย (ผล,ใบ)
  22. ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้รากสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาแห้งประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่มก็ได้ (ราก,เถา)
  23. ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ด้วยการใช้ผลสดของมะระขี้นกต้มรับประทาน หรือจะใช้รากสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาแห้งประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่มก็ได้ (ผล,ราก,ใบ,เถา)
  24. ช่วยในการย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี
  25. ช่วยรักษาโรคกระเพาะ ด้วยการใช้ใบสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัมต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้ใบแห้งบดเป็นผงรับประทานก็ได้ (ใบ)
  26. ช่วยรักษาอาการบิด ถ้าถ่ายเป็นเลือดให้ใช้รากสดประมาณ 120 กรัมต้มกับน้ำดื่ม ถ้าถ่ายเป็นเมือกๆ ให้ใช้รากสดประมาณ 60 กรัม น้ำตาลกรวด 60 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ผล,ใบ,ดอก,เถา)
  27. มะระขี้นก สรรพคุณช่วยรักษาอาการบิดถ่ายเป็นเลือดหรือมูกเลือด ด้วยการใช้เถาสดประมาณ 1 กำมือนำมาใช้แก้อาการบิดเลือดด้วยการต้มน้ำดื่ม หรือใช้แก้บิดมูกให้ใส่เหล่าต้มดื่ม (ราก,เถา)
  28. แก้อาการจุดเสียด แน่นท้อง (ผล,ใบ)
  29. มะระขี้นก สรรพคุณทางยา ช่วยขับพยาธิ ด้วยการใช้ใบสดของมะระขี้นกประมาณ 120 กรัมนำมาตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือจะใช้เมล็ดประมาณ 3 เมล็ดรับประทานเพื่อขับ
  30. พยาธิตัวกลมก็ได้ (ผล,ใบ,ราก,เมล็ด)
  31. ช่วยขับระดู (ใบ)
  32. ช่วยบำรุงระดู (ผล)
  33. ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (ราก)
  34. สรรพคุณของมะระขี้นก มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ (ผล,ราก,ใบ)
  35. ช่วยขับลม (ผล,ใบ)
  36. แก้โรคม้าม รักษาโรคตับ (ผล,ราก,ใบ)
  37. ช่วยบำรุงน้ำดี (ผล,ราก,ใบ)
  38. แก้พิษน้ำดีพิการ (ราก)
  39. ใช้แก้พิษ ด้วยการใช้รากสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาแห้งประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่มก็ได้ (ผล,ราก,ใบ,เถา)
  40. ช่วยรักษาแผลฝีบวมอักเสบ ด้วยการใช้ใบแห้งของมะระขี้นกมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับเหล้าดื่ม หรือจะใช้ใบสดนำมาตำให้แหลกคั้นเอาน้ำมาทาบบริเวณที่เป็นผี หรือจะใช้รากแห้งบดเป็นผงแล้วผสมน้ำพอกบริเวณฝี (ผล,ใบ,ราก,เถา)
  41. ช่วยรักษาแผลบวมเป็นหนอง ด้วยการใช้ผลสดของมะระขี้นกผิงไฟให้แห้งบดเป็นผงแล้วนำน้ำมาทาหรือพอก หรือใช้ผลสดตำแล้วนำมาพอกก็ได้ (ผล)
  42. ใช้เป็นยาฝาดสมาน (ผล,ราก,ใบ)
  43. ใช้รักษาแผลจากสุนัขกัด ด้วยการใช้ใบสดของมะระขี้นกมาตำให้แหลก แล้วนำมาพอกบริเวณบาดแผล (ใบ)
  44. ประโยชน์ของมะระขี้นก ช่วยรักษาโรคหิด ด้วยการใช้ผลแห้งของมะระขี้นกนำมาบดให้เป็นผง แล้วนำมาโรยบริเวณที่เป็นหิด (ผลแห้ง)
  45. แก้อาการคันหรือโรคผิวหนังต่างๆ ด้วยการใช้ผลแห้งของมะระขี้นกนำมาบดให้เป็นผง แล้วนำมาโรยบริเวณที่คันหรือทำเป็นขี้ผึ้งใช้ทาแก้โรคผิวหนังต่างๆ (ผลแห้ง)
  46. ช่วยดับดิบพิษฝีร้อน (ใบ)
  47. ช่วยรักษาโรคลมเข้าข้อ อาการเท้าบวม (ผล,ราก)
  48. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยจากลมคั่งในข้อ (ใบ)
  49. ช่วยแก้อาการปวดตามข้อนิ้วมือนิ้วเท้า (ผล,ราก)
  50. แก้อาการฟกช้ำบวม (ผล,ใบ)
  51. ช่วยต่อต้านเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ โปรโตซัว เชื้อมาลาเรีย (ผล)
  52. ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ด้วยการใช้เมล็ดแห้งของมะระขี้นกประมาณ 3 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม(เมล็ด)
  53. มะระขี้นก สามารถนำมาใช้ทำแกงจืดมะระยัดไส้หมูสับได้เช่นเดียวกับมะระจีน แต่ต้องต้มนานหน่อยเพิ่มลดความขม หรือจะนำมาทำเป็นอาหารเผ็ดก็ได้ เช่น แกงเผ็ด พะแนงมะระขี้นกยัดไส้ หรือจะนำไปผัดกับไข่ก็ได้เช่นกัน
  54. ใบมะระขี้นกนิยมนำมารับประทานอาหาร (แต่ไม่นิยมกินสดๆ เพราะมีรสขม)
  55. ประโยชน์มะระขี้นกา แถวอีสานนิยมนำใบมะระขี้นกใส่ลงไปในแกงเห็ดเพื่อทำให้แกงมีรสขมนิดๆ และช่วยเพิ่มความกลมกล่อมมากขึ้น และนำยอดมะระมาลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือปลาป่นก็ได้เช่นกัน

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , เว็บไซต์ www.rspg.or.th สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ , เว็บไซต์ gotoknow.org , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ขอบคุณ http://www.doctor.or.th/article/detail/8931 ,  http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=90

3 ความคิดเห็น:

  1. น่าศึกษาและใช้อย่างจิงจังดีมากๆๆ

    ตอบลบ
  2. ทดสอบด้วยตนเองมาแล้ว ได้ผลต่อเบาหวานจริงครับ

    ตอบลบ
  3. ผมทดลองมาละครับ สำหรับผมได้ผลนะ

    ตอบลบ