วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บอระเพ็ด แก้เบาหวาน ยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง





ชื่อสมุนไพร
บอระเพ็ด
ชื่ออื่นๆ
เครือเขาฮอ (หนองคาย) จุ่งจิง (เหนือ) เจตมูลหนาม (หนองคาย) ตัวเจตมูลยาน เถาหัวด้วน(สระบุรี) หางหนู(สระบุรี อุบลราชธานี) จุ้งจาลิงตัวแม่ เจตมูลย่าน
ชื่อวิทยาศาสตร์
Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f. & Thomson
ชื่อพ้อง
Tinospora tuberculata Miers, Tinospora rumphii Boerl., Tinospora nudiflora Kurz.
ชื่อวงศ์
Menispermaceae

จากประสบการณ์ผมเองนะครับ

ผมเคยใช้ บอระเพ็ดนี้ 3 แบบครับและก็ได้ผลดีจริงๆ
1 ใช้ในการรักษาคนเป็นเบาหวาน ให้ทานสดหรือต้มดื่มน้ำเช้าเย็นเลยครับ รสชาติจะขมมาก แต่จะช่วยไปลดน้ำตาลในเลือดได้ดีครับ
2 ใช้ในการต้มอาบหรือแช่ โดยใช้ร่วมกับเหงือกปลาหมอ จะเป็นยาที่ช่วยบำรุงระบบน้ำเหลืองให้ดีขึ้นและจะรักษาโรคผิวหนังได้ด้วย
3 ให้วัว ทานตอนที่ไม่ยอมกินหญ้า หลังจากกรอกปากไป 1 วัน วัวกลับมากินหญ้ามากขึ้นตัวก็จะใหญ่เร็วขึ้นครับขายได้ราคาดี

ผลงานการวิจัย

1.ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดพบว่าสารสกัดจากลำต้นบอระเพ็ดด้วย 95% เอธานอล มีฤทธิ์ทำให้ oral glucose tolerance (OGT) ของหนูขาวปกติดีขึ้นเมื่อเปรียบกับกลุ่มควบคุมโดยระดับน้ำตาลจะลดลง 12.15% และ 12.84% หลังจากป้อนสารสกัดให้กับหนูขาว 4 และ 6 ชั่วโมงตามลำดับ อย่างไรก็ตามสารสกัดดังกล่าวไม่มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาวปกติในทุก ๆ ความเข้มข้นที่ใช้ทดลอง (กัลยาและคณะ,2541) สารสกัดจากชั้นน้ำของลำต้นบอระเพ็ดสามารถลดระดับกลูโคสในเลือดและเพิ่มระดับ insulin ในเลือดในหนูที่เป็นเบาหวานได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมแต่ไม่มีผลในหนูปกติ(Noorandcroft,1989) กลไกในการออกฤทธิ์ของสารสกัดจากบอระเพ็ดพบว่าออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นการหลั่ง insulin ที่เบตาเซลล์ทำให้เบตาเซลล์มีความไวต่อความเข้มข้นของ Ca2+ ภายนอกเซลล์ส่งเสริมให้เกิดการสะสมของ Ca2+ใน เซลล์และทำให้เกิดการหลั่งของ insulin โดยไม่รบกวนการดูดซึมของกลูโคสจากทางเดินอาหารและไม่รบกวนการนำกลูโคสเข้า peripheral cell

2.ฤทธิ์ลดไข้มีรายงานการศึกษาฤทธิ์ลดไข้ของสารสกัดจากชั้นน้ำของลำต้นบอระเพ็ดในหนูขาวเพศผู้ที่ถูชักนำให้เกิดไข้ด้วยวัคซีนไทฟอยด์ขนาด 0.6ml./ตัวพบว่าสารสกัดบอระเพ็ดขนาด 300,200,100 mg./kg. น้ำหนักตัวสามารถลดไข้ได้หลังป้อนสารสกัดบอระเพ็ดในชั่วโมงที่1,2 และตามลำดับแต่มีประสิทธิภาพอ่อนกว่า แอสไพริน (บุญเทียมและคณะ,1994)

3.ฤทธิ์ช่วยเจริญอาหารเนื่องจากความขมของบอระเพ็ดจึงสามารถใช้เป็นยาที่ทำให้เจริญอาหารได้ (รุ่งระวีและคณะ,2529)

4.ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระมีรายงานการศึกษาฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของบอระเพ็ดพบว่าสารสกัด 3 ชนิด ได้แก่ N-trans-feruloyltyramine, N-cisferuloyltyramine, secoisolariciresinol มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระมากกว่า BHT ซึ่งใช้เป็นสารมาตรฐาน (Cavin et al.,1997)

5.ฤทธิ์ ในการต้านมาลาเรียมีรายงานการ ศึกษาฤทธิ์ในการต้านมาลาเรียของสารสกัดในชั้นเมธานอลและคลอโรฟอร์มพบว่าไม่มีฤทธิ์ในการต้านมาลาเรีย (Rahman etal.,1999)

6.ฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียมีการศึกษาฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรียของสารสกัดจากใบและลำต้นในชั้นเอธานอลของบอระเพ็ดต่อเชื้อ Staphylococcus aureus beta-Streptococcus gr.A Klebsiella pneumoniae และ Pseudomonas aeruginosa พบว่าสารสกัดจากชั้นเอธานอลของลำต้นบอระเพ็ดมีฤทธิ์ในการต้าน betastreptococcus gr.A (Laorpaksa et al., 1988) พิษวิทยา



 


การทดสอบความเป็นพิษ(Chavalittumrong,1997)- การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันจากการศึกษาพิษเฉียบพลันของสารสกัดด้วยเอธานอลของลำต้นบอระเพ็ด โดยให้ทางปากแก่หนูถีบจักรพบว่าเมื่อให้สารสกัดในขนาด 4g ต่อน้ำหนักหนู 1 kg. (g./kg.) หรือเทียบเท่ากับลำต้นแห้ง 28.95 g./kg. ไม่ทำให้เกิดอาการพิษ

-การทดสอบความเป็นพิษเรื้อรัง จากการศึกษาพิษเรื้อรังของสารสกัดด้วยเอธานอลโดยการกรอกสารสกัดของบอระเพ็ดขนาดต่าง ๆ แก่หนูขาว ติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน พบว่า สารสกัดในขนาด 0.02 g/น้ำหนักหนู 1 kg./day (g./kg./day) ซึ่งเทียบเท่ากับขนาดที่ใช้ในคนไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตหรือการกินอาหารของหนู และไม่ทำให้เกิดความผิดปกติของค่าทางโลหิตวิทยาหรือค่าทางชีวเคมีของซีรั่ม รวมทั้งไม่ทำให้เกิดพยาธิสภาพของอวัยวะภายในต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมแต่หนูที่ได้รับสารสกัดในขนาด1.28 g./kg./day หรือ 64 เท่าของขนาดที่ใช้ในคนมีอัตราการเกิด bile duct proliferationและ focal liver cell hyperplasia รวมทั้งมีค่าของเอนไซม์ alkaline hosphatase และ alanine aminotransferase และ ค่าครีอะตินินสูงกว่ากลุ่มควบคุมแสดงให้เห็นว่าสารสกัดบอระเพ็ดในขนาดต่ำ เช่น ขนาดที่ใช้ในคนไม่ทำให้เกิดความผิดปกติใด ๆ ในสัตว์ทดลองแต่ในขนาดที่สูงอาจทำให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของตับและไตได้


วิธีการใช้ตามภูมิปัญญาไทย

1.ใช้เถาบอระเพ็ดหั่นตากแห้ง แล้วบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกกลอนกินก่อนนอน วันละ 2-4 เม็ด ใช้เป็นยาอายุวัฒนะใช้เถาสดดองเหล้าความแรง 1 ใน 10 รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชาของยาที่เตรียม
2.กินบอระเพ็ดสดวันละ 2 องคุลีทุกวัน เป็นยาขมช่วยให้เจริญอาหาร และป้องกันไข้มาเลเรีย
3.เป็นยาขมแก้ไข้ นำเถาบอระเพ็ดมาตากแห้งบดเป็นผงปั้นเป็นลูกกลอนกินวันละ 3 เวลาก่อนอาหารถ้าบรรจุแคปซูล กินวันละ 2-3 เวลา หรือใช้เถาสดยาว 2-3 คืบ (30-40 กรัม) ใส่น้ำท่วมยานำไปต้มแล้วดื่มหรือต้มเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วน ต้มจนเหลือ 1 ส่วน ดื่มก่อนอาหาร วันละ 2-3 ครั้งเมื่อมีไข้ (ยุวดี จอมพิทักษ์, 2532)
4.ใช้เถาหรือต้นสดครั้งละ 2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ตำแล้วคั้นเอาน้ำดื่ม หรือต้มกับน้ำโดยใช้น้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มก่อนเวลาช่วยลดไข้
5.ใช้รากและเถา ตำผสมมะขามเปียกและเกลือหรือดองเหล้ารับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา แก้ไขลดความร้อน (ยุวดี จอมพิทักษ์, 2532)
6.ใช้เถาที่โตเต็มที่ตากแห้งแล้วบดเป็นผงใช้ผงครั้งละ 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนดื่ม วันละ 2 เวลา เช้า-เย็น หรือใส่ในแคปซูลเพื่อให้สะดวกในการใช้ ใช้รักษาโรคเบาหวาน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
gooherb , http://www.phargarden.com ขอขอบคุณรูปภาพจากhttp://www.phargarden.com



องค์ประกอบทางเคมี
เถามีสารขมชื่อ picroretin, columbin, picroretroside, ไดเทอร์ปีนอยด์ชื่อ tinosporan, columbin สารประเภทเอมีนที่พบคือ N-trans-feruloyl tyramine, N-cis-feruloyl tyramine สารฟีโนลิค ไกลโคไซด์ คือ tinoluberide

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น