วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ขมิ้นชัน ป้องกันการเกิดมะเร็งในตับ ทำความสะอาดให้ลำไส้

ขมิ้นชัน ราชินีสมุนไพร
ป้องกันการเกิดมะเร็งในตับ ทำความสะอาดให้ลำไส้



ชื่อสามัญ / ชื่ออังกฤษ : Turmeric, Curcuma, Yellow Root Zedoary (ขมิ้นอ้อย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : ขมิ้นชัน Curcuma longa Linn., ขมิ้นอ้อย Curcuma zedoaria Rosc.
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่ออื่น/ชื่อท้องถิ่นของขมิ้นชัน:ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหัว ขมิ้นหยวก (เชียงใหม่) มิ้น ขี้มิ้น (ภาคใต้),
ชื่ออื่น/ชื่อท้องถิ่นของขมิ้นอ้อย:ขมิ้น (ทั่วไป) มิ้น ขี้มิ้น (ภาคใต้) ขมิ้นขิ้น ขมิ้นหัวขึ้น ว่านเหลือง ละเมียด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ขมิ้นเป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวใบรูปเรียวยาว ดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อแทงออกมาจากเหง้าโดยตรง ดอกสีขาวอมเหลือง มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่สำคัญ ดังนี้
ราก    รากเป็นรากฝอยใหญ่ และรากฝอยขนาดเล็กจำนวนมาก ซึ่งแตกออกจากลำต้นใต้ดิน และเหง้าหรือแง่งของขมิ้นลำต้น  เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นประเภทเดียวกับไพล กระทือ กระชาย และขิง ลำต้นเป็นหัวอยู่ในดินมี
เหลือง
แกมน้ำตาลใบ      ใบจะออกซ้อนกันเป็นแผง ลักษณะ ของใบ เรียวยาว ใบมีสีเขียวแก่ดอก     ดอกออกเป็นช่อ โผล่พ้นขึ้นมาจาก หัวใต้ดิน ช่อก้านดอกยาว และเป็นช่อคล้ายดอกกระเจียว
ส่วนปลายมีกลีบเลี้ยงมีสีเขียว ขาว ปนม่วงซ้อนกันอยู่แน่น กลีบดอกมีสีขาวนวลแกมม่วง
มีลักษณะเป็นกลีบเรียงกันอยู่เป็นชั้นๆ ส่วนปลายกลีบอ้าออก กลีบเลี้ยงจะอุ้มน้ำไว้ได้

ส่วนที่ใช้เป็นยาเหง้าสดหรือแห้ง
สารสำคัญที่พบในขมิ้น :
ในเหง้าขมิ้นชันมีน้ำมันหอมระเหย ประมาณ 3-4% ซึ่งเป็นน้ำมันสีส้มเหลือง มีเซสควิเทอร์พีนคีโทน (Sesquiterpene) โดยมีสารส่วนใหญ่เป็นทูมีโรน (Tumerone) นอกจากนี้ยังมีสารเออาร์-เทอร์มีโรน (ar-Tumerone) อัลฟา-แอทเลนโทน (Alpha-Atlantone) ซิงจิเบอร์รีน (Zingiberene) บอร์นีออล (Borneol) เป็นต้น ส่วนสารสีเหลืองส้มมีชื่อว่า เคอร์คิวมิน (Curcumin) มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชี้อรา เป็นสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งของกรดในกระเพาะป้องกันการเกิดแผลใน กระเพาะอาหาร ลดการอักเสบและออกฤทธิ์ในการขับน้ำดีด้วย
นอกจากนี้ขมิ้นชันยังประกอบด้วยสารอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันและแร่ธาตุ

ขมิ้นชันมีประโยชน์ และสรรพคุณ หลายประการดังนี้ขมิ้นชันมีวิตามิน เอ,ซี,อี ทั้ง 3 ตัว วิตามินที่เข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำงานได้ ต้องมีพร้อมกันทั้ง 3 ตัว ซึ่งจะมีผลทำให้- ช่วยลดไขมันในตับ
- สมานแผลภายในกระเพาะอาหาร
- ช่วยย่อยอาหาร
- ทำความสะอาดให้ลำไส้
- เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ
- ต้านอนุมูลอิสระป้องกันการเกิดมะเร็งในตับ
- สร้างภูมิคุ้มกันให้กับผิวหนัง
- กำจัดเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารที่กินเข้าไปแล้วสะสมในร่างกายเตรียมก่อตัวเป็นเซลล์มะเร็ง
 - ช่วยขับน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรได้ดี รองมาจากการกินหัวปลี

ป้องกันการเกิดมะเร็งในตับ สร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนัง การกินขมิ้นชันให้ตรงเวลา ที่อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเปิดการทำงานในช่วงเวลานั้น

มะเร็งเกิดจาก ร่างกายได้รับสารเคมีที่ปนมาจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นยาต่างๆ ยาย้อมผม ลิปสติก หรือเกิดจากเชื้อราอัลฟลาท๊อกซิล เซลล์ดีจะถูกทำรายอย่างรวดเร็ว ในขณะที่เซลล์มะเร็งเติบโตขึ้น

การกินขมิ้นชันให้ตรงเวลา (ตั้งนาฬิกาไว้ล่วงหน้า) ที่อวัยวะของร่างกายเปิดการทำงานในช่วงนั้น จะออกฤทธิ์มากกว่าเวลาอื่นถึง 40 เท่าตัว ถ้ามีปัญหาสุขภาพหลายอย่างช่วงแรกอาจจะทานทุกสองชั่วโมง ซึ่งไม่มีอันตรายใดๆ เพราะส่วนที่เหลือสารจากขมิ้นชันจะไปขับไขมันในตับต่อเป็นการล้างพิษที่ตับ



นาฬิกาชีวิต (ความสัมพันธ์ของอวัยวะกับเวลา) ช่วงเวลา เป็นเวลาของ
03.00 - 05.00 น. ปอด
05.00 - 07.00 น. ลำไส้ใหญ่
07.00 - 09.00 น. กระเพาะอาหาร
09.00 - 11.00 น. ม้าม
11.00 - 13.00 น. หัวใจ
13.00 - 15.00 น. ลำไส้เล็ก
15.00 - 17.00 น. กระเพาะปัสสาวะ
17.00 - 19.00 น. ไต
19.00 - 21.00 น. เยื่อหุ้มหัวใจ
21.00 - 23.00 น. พลังงานรวม
23.00 - 01.00 น. ถุงน้ำดี
01.00 - 03.00 น. ตับ

การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึกลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมงในหนึ่งวันนั้นภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่านอวัยวะภายในของร่างกาย ซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง
อวัยวะตัน หมายถึง หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต
อวัยวะกลวง หมายถึง กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบความร้อนของร่างกาย (ชานเจียว)
การไหลเวียนของพลังชีวิต (ลมปราณ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า "นาฬิกาชีวิต"
1.00-3.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonine) เพื่อฆ่าเชื้อโรคทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งทำงานหนักและเสื่อมเร็ว
3.00-5.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด ควรตื่นขึ้นมาสูดอากาศรับแดดตอนเช้า ผู้ที่ตื่นช่วงนี้ประจำ ปอดจะดี ผิวดี และเป็นคนมีอำนาจในตัว???
5.00-7.00 น. ลำไส้ใหญ่ ควรถ่ายให้เป็นนิสัย คนเรามักไม่ตื่นกันตอนนี้ซึ่งเป็นเวลาที่ลำไส้ต้องบีบอุจจาระลง เมื่อไม่ตื่นจึงบีบขึ้น เมื่อไม่ถ่ายตอนเช้าลำไส้ใหญ่จึงรวน แล้วจะมีอาการปวดหัวไหล่ กล้ามเนื้อเพดานจะหย่อน แล้วจะนอนกรนในที่สุด
7.00-9.00 น. กระเพาะอาหาร กินเข้าเช้าตอนนี้จะดี กระเพาะแข็งแรง ถ้ากระเพาะอ่อนแอ จะทำให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขี้กังวล ขาไม่ค่อยมีแรง ปวดเข่า หน้าแก่เร็วกว่าวัย ถ้าไม่กินข้าวเช้าอุจจาระจะถูกดูดกลับมาที่กระเพาะ กลิ่นตัวจะเหม็นถ้าถ่ายออกหมดจะไม่มีกลิ่นตัวเท่าไหร่
9.00-11.00 น. ม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย หน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดหัวบ่อยมักมาจากม้าม อาการเจ็บชายโครงมาจากม้ามกับตับ ม้ามโต จะไปเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย ม้ามชื้น อาหารแและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน ทำให้อ้วนง่าย คนที่หลับช่วง 9.00-11.00 ม้ามจะอ่อนแอ ม้ามยังโยงไปถึงริมฝีปากคนที่พูดมากช่วงนี้ม้ามจะชื้น ควรพูดน้อยกินน้อย ไม่นอนหลับ ม้ามจะแข็งแรง
11.00-13.00 น. หัวใจ หัวใจจะทำงานหนักช่วงนี้ ให้หลีกเลี่ยงความเครียด หรือใช้ความคิดหนัก หาทางระงับอารมณ์ไว้
13.00-15.00 น. ลำไส้เล็ก **ควรงดกินอาหารทุกประเภท** เพื่อเปิดโอกาสให้ลำไส้ทำงาน ลำไส้เล็กทำหน้าที่ดูดสารอาหารที่เป็นน้ำเพื่อสร้างกรดอะมิโนสร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สำหรับผู้หญิง
15.00-17.00 น. กระเพาะปัสสาวะ จะเกี่ยวข้องกับระบบความจำ ไทรอยด์ และระบบเพศทั้งหมด ช่วงเวลานี้ควรทำให้เหงื่อออก จะออกกำลังการหรืออบตัวกระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง การอั้นปัสสาวะบ่อยจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดทำให้เหงื่อเหม็น
17.00-19.00 น. ไต ควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหาวนอนตอนนี้ ถ้าง่วงแสดงว่าไตเสื่อม ยิ่งหลับแล้วเพ้อ อาการยิ่งหนัก
19.00-21.00 น. เยื่อหุ้มหัวใจ ช่วงนี้ควรสวดมนต์ ทำสมาธิ ให้ระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ หัวเราะ
21.00-23.00 น. เวลาของระบบความร้อนของร่างกาย ต้องทำร่างกายให้อุ่น ห้ามอาบน้ำเย็นเวลานี้จะเจ็บป่วยได้ง่าย ช่วงนี้อย่าตากลมเพราะลมมีพิษ
23.00-1.00 น. ถุงน้ำดี เป็นถุงสำรองน้ำย่อยที่ออกมาจากตับ อวัยวะใดขาดน้ำ จะดึงมาจากถุงน้ำดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น อารมจะฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวมปวดฟัน นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก ตอนเช้าจะจาม ถุงน้ำดีจะโยงถึงปอดจะปวดศีรษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรดื่มน้ำก่อนเข้านอนหรือก่อนเวลา23.00น.


ถ้ากินขมิ้นชัน แบบผง 1 ช้อนชา ใช้ผสมน้ำ 1 แก้ว(ไม่เต็ม) ขมิ้นชันจะไหลผ่านส่วนต่างๆ ตั้งแต่
- ผ่านลำคอ ช่วยขับไล่ไรฝุ่นที่ลำคอ แล้วไปผ่านปอดช่วยดูแลปอดให้หายใจดีขึ้น ลดความชื้นของปวด
- ผ่านม้าม ก็ลดไขมัน และปรับน้ำเหลืองไม่ให้น้ำเหลืองเสีย
- ผ่านกระเพาะอาหาร ก็จะรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
- ผ่านลำไส้ ก็สมานแผลในลำไส้
- ผ่านตับ ก็ไปบำรุงตับ ล้างไขมันในตับ
ขมิ้นชันยังช่วยดูแลเซลล์ต่างๆ ที่ฉีกขาด ก็จะไปเชื่อมให้ และไปกวาดขยะ กวาดไขมันมากองไว้ ถ้าจะอุ้มขยะไปทิ้งโดยการขับถ่ายก็กินอาหารปกติ เช่น พืช ผัก ผลไม้ ที่มีกากใย หรือ กินน้ำลูกสำรอง(พุงทลาย) เพื่ออุ้มไขมัน อุ้มแก๊สไปทิ้ง
*คนธาตุเบา แสดงว่ามีการระคายเคือง อักเสบ เป็นแผลเรื้อรังบางอย่างที่ผนังลำไส้เป็นอาจิณ
*คนธาตุหนัก แสดงว่าปลายประสาทลำไส้ใหญ่เสื่อม อาจเกิดจากการกินยาถ่ายเป็นประจำ หรือกินน้ำน้อย

ทั้งธาตุเบาและธาตุหนัก ไม่ดีทั้งคู่ ถ้าเป็นอย่างนี้แสดงว่ามีปัญหาที่ลำไส้ และปลายประสาทลำไส้ใหญ่ผิดปกติ หากปล่อยไว้ วันข้างหน้าจะมีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ควรกินขมิ้นชันเป็นประจำ เพื่อค่อยๆ ปรับให้เข้าที่แล้ว กลับมาถ่ายได้อย่างปกติ



ที่มา : จากหนังสือ กินเป็น ลืมป่วย ล้างพิษในร่างกาย  , 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น