วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดอกแค ยังช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้อาการท้องร่วง





ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Sesbania grandiflora  (L.) Desv.

ชื่อสามัญ :   Agasta, Sesban, Vegetable humming bird

วงศ์ :   Leguminosae - Papilionoideae

ชื่ออื่น :  แค แคบ้านดอกแดง แคขาว (ภาคกลาง) แคแดง (เชียงใหม่)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม.  ยาว 3-4 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ  สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ 2-4 ดอก ดอกสีขาวหรือแดง มีกลิ่นหอม ก้านเกสรเพศผู้สีขาว 60 อัน ผล เป็นฝัก ยาว 8-15 ซม. ฝักแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดกลมแป้น สีน้ำตาล มีหลายเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น  ดอก  ใบสด  ยอดอ่อน

ประโยชน์ตำรายาไทย
ดอกแค สามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายอย่าง ใส่แกงส้ม ต้มจิ้มน้ำพริก ดอกแคและยอดอ่อน ยังช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน เปลือกลำต้นเมื่อนำมาต้นน้ำให้เดือด 30 นาที ใช้น้ำต้มชะล้าง
ข้อแนะนำ
สำหรับดอกแค ก่อนนำไปปรุงอาหารควรแกะไส้ในออกก่อน มิฉะนั้นจะมีรสขม รับประทานไม่อร่อย


สรรพคุณ :

เปลือก
- ต้มหรือฝนรับประทาน แก้โรคบิดมีตัว
- แก้มูกเลือด แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
- ภายนอก ใช้ชะล้างบาดแผล

ดอก,ใบ - รับประทานแก้ไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู (แก้ไข้หัวลม)
ชาวอินเดีย ใช้สูดน้ำที่คั้นได้จากดอกหรือใบแคเข้าจมูกรักษาโรค ริดสีดวงในจมูก และทำให้มีน้ำมูกออกมา แก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้

ใบสด
- รับประทานใบแคทำให้ระบาย
- ใบแค ตำละเอียด พอกแก้ช้ำชอก

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

แก้มูกเลือด บิดมีตัว แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
ใช้เปลือกต้นปิ้งไฟ 1 ส่วน ต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใส 10 ส่วน รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง

แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้หัวลม (หรือไข้อากาศเปลี่ยน)
- ใบสด ต้มกับน้ำรับประทานลดไข้ ใช้ยอดอ่อนจำนวนไม่จำกัด ลวกจิ้มกับน้ำพริก รับประทานแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
- ใช้ดอกที่โตเต็มที่ล้างน้ำ ต้มกับหมูทำบะช่อ 1 ชาม รับประทาน 1 มื้อ รับประทานติดต่อกัน 3-7 วัน จะได้ผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น